ประวัติพยาบาลกับงานทางรังสีวิทยา

งานทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย
scan0052ในยุคแรกของฝ่ายรังสีวิทยา สถานที่ปฏิบัติงานและเครื่องมือของ “หมวดแสงรัศมี” รวมอยู่ในอาคารเดียวกันคือ อาคาร “อภันตรีปชา” โดยมิได้แยกหน่วยงานเช่นในปัจจุบัน ซึ่งในระยะแรกมีพยาบาลจำนวน 2 คน ที่ทำหน้าที่ฉายแสงด้านรังสีรักษา

ในปี พ.ศ. 2497 ภายหลังจากที่คุณเกื้อกูล ระงับภัย สำเร็จการศึกษาวิชาชีพการผดุงครรภ์และอนามัยจาก โรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์และอนามัย สภากาชาดไทย ท่านก็ได้สมัครเป็นพยาบาลประจำหน่วยรังสีวินิจฉัย โดยปฏิบัติงานการถ่ายภาพเอกซเรย์เพียงผู้เดียว ซึ่งผู้ฝึกสอนในสมัยนั้นล้วนแล้วแต่เป็นทหารที่มาจากทหารเสนารักษ์ จำนวน 3 คน และคนงาน แต่มีประสบการณ์ด้านการเอกซเรย์ช่วยสอนและแนะนำ แต่หากทำการเอกซเรย์แล้วไม่ได้ ภาพตามที่รังสีแพทย์ต้องการ รังสีแพทย์ ก็จะแนะนำให้ดูภาพจากหนังสือและโครงกระดูกอาจารย์ใหญ่

พยาบาลใน สมัยนั้นต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านรังสีวินิจฉัยทุกชนิด ตั้งแต่การเอกซเรย์ทั่วไป การเอกซเรย์พิเศษต่างๆ เช่น วัดความยาวของขาทั้งสองข้าง วัดเชิงกรานคนตั้งครรภ์ (Pelvimetry) เอกซเรย์ฟัน ช่วยรังสีแพทย์ในการจัดเตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ในการตรวจ Angiography, Lymphangiography เอกซเรย์ผู้ป่วยฉุกเฉิน ทั้งจาก ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมถึงการล้างฟิล์มในห้องมืด ส่วนในเวลากลางคืนก็ต้องอยู่เวร และทำงานคนเดียว เริ่มตั้งแต่ต้องมาเปิดอาคารเอกซเรย์ เอกซเรย์ผู้ป่วย ล้างฟิล์ม และสำหรับฟิล์มที่เอกซเรย์แล้ว แพทย์เจ้าของไข้ก็จะนำไปพิจารณาก่อน ซึ่งหากมีข้อสงสัยหรือเกิดความไม่แน่ใจก็จะนำฟิล์มมาปรึกษารังสีแพทย์ใน วันรุ่งขึ้น ในส่วนของพยาบาลที่เข้ามาปฏิบัติงานในรุ่นหลังๆ ต่างก็ได้รับการสอนงานทางด้านรังสีวินิจฉัยจากคุณเกื้อกูล ระงับภัยแทบทั้งสิ้น

หัวหน้าตึกเอกซเรย์คนแรกคือ นายฟูศักดิ์ ชุณห์งาม ก็จะดูแลงานทุกอย่าง เริ่มต้นตั้งแต่การลงทะเบียน ผู้ป่วยที่มาติดต่อเอกซเรย์ รับเงิน ออกใบเสร็จรับเงิน จัดฟิล์มให้รังสีแพทย์อ่านรายงานผลและการบันทึกรับส่ง-ฟิล์มของ ผู้ป่วยและจากอาคารรักษาพยาบาล เตรียมการเบิกจ่ายฟิล์ม สารทึบรังสี และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เกี่ยวกับงานด้านรังสี

ต่อมาได้มีการจัดตั้ง เงินทุนหมุนเวียนรังสีวินิจฉัยขึ้น เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของโรงพยาบาล ค่อนข้าง ล่าช้าและไม่ทันกับวิทยาการทางด้านรังสีวิทยาที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการจัดซื้อเครื่องมือทางการ ถ่ายภาพรังสี ชนิดใหม่ๆ เช่น เครื่องอัลตราซาวนด์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น จำนวนรังสีแพทย์และบุคลากรระดับต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย จึงมีการจัดให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับปฏิบัติ งานตลอด 24 ชั่วโมง

ในปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2529 มีพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 5 คน ซึ่งการปฏิบัติงานของพยาบาลยังคง ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับนัก/เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคและทำหน้าที่เป็นพยาบาลด้วยในเวลาเดียวกัน ต่อมาได้มี การก่อตั้งโรงเรียนรังสีเทคนิคโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยขึ้น จึงสามารถผลิตเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ ออกมาปฏิบัติงานด้านการถ่ายภาพทางรังสี พยาบาลจึงเปลี่ยนหน้าที่จากการถ่ายภาพทางรังสีมาทำหน้าที่ปฏิบัติการ พยาบาลตามความรู้ของวิชาชีพพยาบาล โดยขึ้นกับฝ่ายการพยาบาล และมีหัวหน้าพยาบาล ผู้ตรวจการพยาบาล และหัวหน้าหอผู้ป่วย ทำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติงานของพยาบาล และผู้ตรวจการพยาบาลและหัวหน้าหอผู้ป่วยยังได้รับ ความไว้วางใจจากหัวหน้าฝ่ายรังสีวิทยาให้ช่วยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่/พนักงาน ห้องปฏิบัติการ โดยมีการทำงานร่วมกับรังสีแพทย์/เจ้าหน้าที่รังสี เทคนิค และเจ้าหน้าที่ทุกระดับในสาขารังสีวิทยา วินิจฉัยและฝ่ายรังสีวิทยา ในการให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยาเป็นอย่างดี รวมทั้งร่วมกิจกรรม ต่างๆ ของฝ่ายรังสีวิทยา ทั้งนี้ พยาบาลคนสุดท้ายที่มีความสามารถในการถ่ายภาพทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย ซึ่งขณะนี้ได้ เกษียณอายุไปแล้วคือคุณจุไรวัลย์ เล็กสกุลชัย

ในปัจจุบันการบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยามีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจ วินิจฉัยที่รวดเร็ว ถูกต้อง และมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ได้มีการจัดอัตรากำลังพยาบาลเพื่อทำหน้าที่ให้การพยาบาล ผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยาครอบคลุมตามความต้องการการพยาบาลของแต่ละหน่วยงานมีการประสานงานร่วมกับหอผู้ป่วยในการรับ – ส่งผู้ป่วยมาตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่มี       คุณภาพ ปลอดภัย รวมถึงมีการจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลทางรังสีวิทยาและมีแนวทางปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันความเสี่ยง/ภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา พร้อมทั้งมีการทบทวนปรับปรุงให้ทันสมัย ควบคู่วิทยาการด้านการตรวจวินิจฉัยที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว


งานด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

a6งานทางด้านการพยาบาลของสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา เริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2508 โดยดูแล เกี่ยวกับการฉายรังสีและงานการพยาบาล ซึ่งในขณะนั้นมีพยาบาลปฏิบัติงานจำนวน 1 คนโดยสถานที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ ห้องฉายรังสี จำนวน 2 ห้องในอาคารโคบอลต์ ในกรณีใส่แร่จะดำเนินการที่อาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ ชั้น 2 และรับผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาล ที่อาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห ์ ชั้น 3 ซึ่งบทบาทหน้าที่ของ พยาบาลในสมัยนั้นคือ ช่วยฉายรังสี ช่วยแพทย์รังสีรักษา ขณะตรวจร่างกายผู้ป่วย เตรียมผู้ป่วย เตรียมผลเลือด ผลการตรวจวินิจฉัย ให้คำแนะนำ และนัดผู้ป่วยเพื่อเข้าประชุมวางแผน Tumor Clinic เพื่อทำการฉายรังสี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 – 2513 หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในระยะแรกนั้น พยาบาลจะขึ้นตรงกับ ฝ่ายรังสีวิทยา แต่ภายหลังได้โอนย้ายมาขึ้นกับฝ่ายการพยาบาล โดยมีผู้ตรวจการพยาบาลจำนวน 1 คน มีหัวหน้า หอผู้ป่วยจำนวน 1 คน และพยาบาลจำนวน 2 คน ในขณะเดียวกันก็ได้เริ่มมีการให้ยาเคมีบำบัดผู้ป่วย โดยพยาบาล จะเป็นผู้ช่วยแพทย์รังสีรักษาให้ยาทางหลอดเลือดดำที่อาคารอับดุลราฮิม ชั้น 2 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2532 เมื่ออาคาร ล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงได้ทำการย้ายระบบการทำงานบางอย่างมาเปิดบริการที่อาคาร แห่งนี้ ได้แก่ ห้องตรวจโรค ห้องยาเคมีบำบัดมาที่อาคารว่องวานิช ชั้น 1 ส่วนห้องฉายรังสียังคงอยู่ที่เดิม โดยสมัยนั้น พยาบาลของอาคารล้วน -เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 1 นอกจากจะทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองแล้ว ก็ยังมีหน้าที่ช่วย ปฏิบัติงานอื่นๆ เช่น คำนวณปริมาณการฉายรังสีเบื้องต้นและทำหน้าที่ฉายรังสีร่วมกับนักรังสีเทคนิค เนื่องจากสมัยนั้น จำนวนนักรังสีเทคนิคมีน้อยและในปี พ.ศ. 2541 มีพยาบาลเพิ่มเป็น 4 คน พยาบาลต้องเป็นผู้ผสมยาเคมีบำบัดและ ฉีดยาเองและยังต้องช่วยรังสีแพทย์ขณะตรวจรักษาดูแลผู้ป่วยที่ทำการจำลองการฉายรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ (CT Simulator) หรือการจำลองการฉายรังสีด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (MRI Simulator) ในการฉีดสารทึบรังสี (Iodinated contrast media) หรือสารเปรียบเทียบความชัด (MR contrast media) ตามแผนการรักษา แต่ไม่ต้องทำการฉายรังสีแล้ว เนื่องจากนักรังสีเทคนิคมีจำนวนเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2547 หัวหน้าสาขารังสีรักษาคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประยุทธ์ โรจน์พรประดิษฐ์ ได้ขยายงานบริการให้เคมีบำบัดไปอยู่ที่ อาคารล้วน -เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 6 และต่อมาย้ายมาชั้น 4 ดังนั้นพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่ชั้น 1 ของอาคารนี้จึงไม่ต้องมี งานทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา งานทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาหน้าที่ให้ยาเคมีบำบัดแล้ว ในปี พ.ศ. 2549 ถึงปัจจุบัน (2557) หอผู้ป่วยงานการพยาบาลเฉพาะทางรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาซึ่งดูแลผู้ป่วยนอกอาคารล้วน- เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 1 อาคารเอลิสะเบธ อาคารอับดุลราฮิม มีผู้ตรวจการพยาบาลจำนวน 1 คน (ซึ่งจะดูแล สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยและสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ร่วมด้วย) หัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 1 คน โดยมีการจัดแบ่ง บุคลากรดังนี้

  •  เคาน์เตอร์คัดกรองที่อาคารล้วน-เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 1 มีพยาบาลประจำ จำนวน 1 คน
  • ห้องตรวจโรค 7 ห้องที่อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 1 มีพยาบาลประจำ จำนวน 2 คน ผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 1 คน และเจ้าหน้าที่พยาบาล จำนวน 2 คน
  • ห้อง Tumor Clinic และห้องให้คำแนะนำปรึกษา 1 ห้อง มีพยาบาลประจำจำนวน 1 คน
  • ห้อง CT Simulator 1 ห้อง ห้อง MRI Simulator 1 ห้อง ห้อง Acuity Simulator 1 ห้อง และห้องสังเกตอาการผู้ป่วย 1 ห้องที่อาคารเอลิสะเบธมีพยาบาลประจำจำนวน 2 คน
  •  ห้อง CT Simulator 1 ห้องที่อาคารอับดุลราฮิมมีพยาบาลประจำจำนวน 1 คน สำหรับหอผู้ป่วยที่อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิชที่รองรับผู้ป่วยในที่รอรับการฉายรังสี หรือมีภาวะงานทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแทรกซ้อน หลังฉายที่ค่อนข้างรุนแรงจะมีผู้ตรวจการพยาบาลจำนวน 1 คนคอยดูแล รับผิดชอบชั้น 4 – 6 และอีกจำนวน 1 คน ดูแลรับผิดชอบชั้น 3, 7 โดยมีการจัดแบ่งบุคลากรดังนี้
  • ชั้น 4 เป็นศูนย์เคมีบำบัด มีพยาบาลจำนวน 6 คน และผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 3 คน
  • ชั้น 5 รับผู้ป่วยหญิงจำนวน 28 เตียงรับผู้ป่วยชายจำนวน 5 เตียง และมีห้องรับผู้ป่วยกลืนน้ำแร่ 1 ห้อง ซึ่งมีจำนวน 3 เตียง มีหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 1 คน พยาบาลจำนวน 15 คน และผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 9 คน
  • ชั้น 6 รับผู้ป่วยชายจำนวน 15 เตียงและมีห้องรับผู้ป่วยกลืนน้ำแร่จำนวน 1 ห้อง ซึ่งมีจำนวน 2 เตียง มีหัวหน้าห้องผู้ป่วยจำนวน 1 คน พยาบาลจำนวน 10 คน และผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 8 คน
  • ชั้น 3, 7 มีหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 1 คนดูแลรับผิดชอบดังนี้

-ชั้น 3 เป็นหน่วยสำหรับรับใส่แร่ มีพยาบาลจำนวน 1 คน และผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 2 คน

-ชั้น 7 รับผู้ป่วยชายและหญิงเป็นห้องพิเศษเดี่ยว 10 ห้อง มีพยาบาลจำนวน 10 คน และผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 5 คน

  • มีเจ้าหน้าที่พยาบาลจำนวน 5 คน ใช้อัตรากำลังร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยที่อาคารล้วน – เพิ่มพูลว่องวานิช ชั้น 4, 5, 6, 7

จึงอาจกล่าวได้ว่าการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยนี้ มีการประสานความเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันแบบ สหสาขาวิชาชีพดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง


งานด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์
a7หน่วยไอโซโทปส์ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในปี พ.ศ. 2520 โดยพยาบาลในช่วงเริ่มต้นต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ทุกอย่าง นับตั้งแต่การตรวจ scan ผู้ป่วยเช่น Thyroid scan, Brain scan, Thyroid uptake เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ดูแลเก็บเงินค่าตรวจ ค่ารักษา ส่วนการฉีดสารเภสัชรังสี จะมีผู้ช่วยพยาบาลชายดูแลการฉีดสารเภสัชรังสีให้กับผู้ป่วยก่อนการทำ scan

ในปี พ.ศ. 2529 มีนักรังสีเทคนิคเข้ามาปฏิบัติงาน พยาบาลจึงได้มาทำหน้าที่ทางการพยาบาล โดยดูแลให้ บริการผู้ป่วยด้านมะเร็งไทรอยด์ ไทรอยด์เป็นพิษ และให้ความรู้ผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วย เกิดความเข้าใจในแผนการรักษาและ ดูแลการฉีดสารเภสัชรังสีให้ผู้ป่วยก่อนทำการตรวจ scan ดูแลให้ความรู้แก่ผู้ป่วยก่อนรับการตรวจ PET-CT (Positron Emission Tomography – Computed Tomography) ดูแลการฉีดสารเภสัชรังสีให้กับผู้ป่วยที่มารับการตรวจ PET-CT ภายใต้หลักการป้องกันอันตรายจากรังสีและดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการตรวจ

ในปัจจุบันการบริการการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงได้มีการเพิ่มอัตรากำลัง พยาบาลเพื่อทำหน้าที่ให้การบริการผู้ป่วยที่มารับการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มี คุณภาพและมีความปลอดภัย รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน (I-131) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งไทรอยด์และไทรอยด์เป็นพิษ มีการจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพบริการทางการพยาบาล มีแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงและอันตรายจากสารกัมมันตรังสีและมีการปรับปรุงงานเพื่อให้สอดคล้อง กับการตรวจรักษาที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว